วันที่: 2013-09-22 23:02:08.0
การทอดกฐินเป็นชื่อเรียกผ้าไตรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ3เดือนสามารถนำมานุ่งห่มได้ จัดเป็นสังฆกรรม
ประเภทหนึ่งซึ่งจะกระทำได้ตั้งแต่วันแรม1ค่ำเดือน11ถึงวันขึ้น15ค่ำเดือน12เท่านั้น
การทอดกฐินนี้เป็นทานที่พิเศษกว่าทานอย่างอื่นๆคือ
1.จำกัดเวลา หมายถึงถวายได้เฉพาะช่วงวันแรม1ค่ำเดือ น11ถึงวันขึ้น15ค่ำเดือน12เท่านั้น
2.จำกัดการรับหมายถึงในวัดแต่ละวัด จะรับกฐินได้เพียงปีละ1ครั้งเท่านั้น
3.จำกัดประเภททาน หมายถึงต้องเป็นสังฆทานเท่านั้น จะเจาะจงถวายให้พระรูปใดรูปหนึ่งมิได้
4.จำกัดงาน หมายถึงพระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัดเย็บ ย้อมและครองผ้าไตรให้เสร็จสิ้นภายในวันนั้น
5.จำกัดไทยธรรมหมายถึงผ้าไตรที่จะถวายต้องถูกต้องตามพระวินัย
6.จำกัดผู้รับ หมายถึงต้องมีพระภิกษุไม่น้อยกว่า5รูปและพระภิกษุผู้รับกฐินจะต้องอยู่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา
7.เป็นพระบรมพุทธานุญาต หมายถึงเป็นพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุได้รับผ้าไตรจากอุบาสก อุบาสิกาเอง
โดยเหล่าอุบาสก อุบาสิกาเหล่านั้นมิได้ทูลขอ
กฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มีหลักฐานชัดในสมัยสุโขทัย(จากศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง
มหาราช) และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
จุลกฐิน เป็นคำเรียกการทอดกฐินที่ต้องผลิตผ้าไตรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียวตั้งแต่การตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐินครองจีวรให้เสร็จภายในเช้าวันหนึ่งจนถึงเช้ารุ่งของอีกวัน ทั้งนี้ต้องอาศัยความศรัทธาและสามัคคีของชาวพุทธเป็นจำนวนมากจึงจะสำเร็จ คนโบราณจึงถือว่าเป็นการทอดกฐินที่ได้อานิสงส์มาก
มหากฐิน เป็นคำเรียกการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินประกอบด้วยจตุปัจจัย ไทยธรรมและสิ่งของต่างๆเพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ให้ท่านได้นำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไป อาจเป็นเจ้าภาพคนเดียวหรือเป็นกฐินสามัคคีก็ได้ ทั้งนี้การทอดกฐินในปัจจุบันมักเป็นแบบนี้
ข้อมูลจากวิกิพิเดีย
|
|
|